ต้นมะขาม ที่ใครๆ ก็รู้จักกันดี ผลไม้ที่มีทั้งรสเปรี้ยว และรสหวาน ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายอย่าง สามารถรับประทานได้ทั้งยอดอ่อน ผล หรือฝัก ทั้งทานสดๆ และแบบที่แปรรูป เช่น แช่อิ่ม กวน อบ สิ่งสำคัญคือ มีสรรพคุณทางยาต่างๆ ใช้นำมารักษาโรคได้มากมาย เหมือนผลไม้ธรรมดา แต่บอกได้เลยว่าน่าสนใจมาก
ชื่อ: มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica L.
ชื่อสามัญ: Indian date, Tamarind
ชื่ออื่น: ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกง อำเปียล
วงศ์: FABACEAE
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เพชรบูรณ์
ที่มา: ข้อมูลทั่วไป [1]
มะขามดิบ 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
ที่มา: คุณค่าทางโภชนาการ [2]
การขยายพันธุ์: โดยใช้วิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง เสียบยอด
ใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 8 เมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 10 เมตร
มะขาม เป็นไม้ยืนต้นที่ทน และไม่ต้องการการดูแลมากมาย ควรรดน้ำประมาณ 3 – 5 วัน/ครั้ง เมื่อต้นมะขามมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำต่อไปก็ได้ เพราะรากจะหาน้ำใต้ดินได้เอง ยกเว้นในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ดินมีสภาพแห้งจัด
เมื่อต้นมะขามมีอายุประมาณ 3 – 5 ปี ก็จะเริ่มติดดอก ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จนกว่าฝักจะเริ่มแก่เป็นสีน้ำตาลจึงหยุดให้น้ำ และจะกลับมาให้น้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตและรอจนกว่าผลิใบออกมาใหม่แล้ว ในช่วงให้ผลผลิตนี้ ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24 ในอัตราต้นละ 100-200 กรัม โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ก่อนหรือเมื่อเริ่มติดผล และใส่อีกครั้งเมื่อเริ่มแตกใบใหม่ [3]
ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวไว้ว่า ต้นมะขาม เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อ ปลูกไว้เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกราย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ ที่มีชื่อนามเป็นมงคล ถือกันเป็นเคล็ดว่า บ้านใดได้บุตร บุตรจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน จะทำให้มีแต่คนเกรงขาม และมีอำนาจบารมี
ตำแหน่งที่เหมาะกับการปลูก ของต้นมะขาม ต้นไม้มงคลนั้น ควรปลูกไว้ทาง ทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เช่นเดียวกับ ต้นประดู่ เป็นต้น
ที่มา: สรรพคุณของมะขาม [4]
สรุป สรรพคุณของ ต้นมะขาม ไม่ได้มีแค่เส้นใยอาหาร แต่มีสารสำคัญหลายชนิด ที่มีประสิทธิภาพ ยับยั้งการสร้างไขมันในร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมาก สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ก็ไม่ควรพลาดสรรพคุณดีๆ จากมะขามกันนะคะ