อังกะลุง เครื่องดนตรีที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ จัดอยู่อยู่ในหมวดหมู่ของเครื่องกระทบ ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีความพิเศษอย่างไร ความเป็นมาน่าสนใจแค่ไหนวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรับชมพร้อม ๆ กัน
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่ได้รับเอาแบบอย่าง มาจากเครื่องดนตรี ของประเทศอินโดนีเซีย ที่เรียก อังคะลุง ซึ่งทำขึ้นจากไม้ไผ่ โดยจะจัดอยู่ในประเภท ของเครื่องกระทบหรือเครื่องตี เสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ จะเกิดขึ้นจากเขย่า และเกิดเป็นโทนเสียง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะกระบอกไม้ไผ่ ที่ใช้มีความหนาและบางต่างกัน
การเกิดเสียงจึงต่างกันด้วย ความเป็นมาของอังกะลุง ในประเทศไทยนั้น คือการที่ สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์ วงศ์วรเดช ได้เสด็จไปยังเมืองได ประเทศชวา หรืออินโดนีเซีย พร้อมด้วย หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2450 [1] พระองค์ได้รับการต้อนรับ จากประชาชนเป็นอย่างดี
และมีการแสดงดนตรีถวายถึง 7 วง และวงดนตรีที่พระองค์ ทรงสนพระทัยมากที่สุดก็คือ อังคะลุง นั่นเอง ต่อมาไม่นานเครื่องดนตรีชนิดนี้ ก็แพร่หลายในประเทศไทย จนมีการพัฒนาให้เล่นง่ายและมีน้ำหนักเบา โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
เนื่องจากการเล่นของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ต้องอาศัยผู้เล่นเป็นจำนวนมาก เพราะอังกะลุงหนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งโน้ต เช่น หากต้องการเล่นโน้ต โด เร มี ฟา ซอล ก็เท่ากับว่าจะต้องมีผู้เล่นถึง 5 คน แต่ในปัจจุบันนั้น อังกะลุงได้พัฒนามาเป็นอังกะลุงราว ที่มีผู้เล่นเพียงคนเดียวก็สามารถเล่นได้แล้ว
เนื่องด้วยเครื่องดนตรีชนิดนี้ ได้รับการประดิษฐ์จากไม้ไผ่ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย โดยเฉพาะการกัดกินจากมอด ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด การบรรเทาการกัดกินของมอด ให้ช้าลงคือการนำออกมาบรรเลงอย่างสม่ำเสมอ
จะส่งผลดีกว่าการเก็บไว้เฉย ๆ ในส่วนของการวางควรวางให้เบามือ และพิงไว้ในลักษณะของการเอียง จะดีที่สุดเพื่อป้องการตก เพราะอาจจะทำให้กระบอกแตกได้ และความชื้นก็มีส่วนทำให้เกิดเสียงเพี้ยน ควรเลี่ยงการบรรเลงในห้องปรับอากาศ จะส่งผลต่อเสียงที่ดีกว่า
โดยสรุปแล้วเครื่องกระทบชนิดนี้ มีความเป็นมาโดยการนำแบบอย่าง มาจากเครื่องดนตรีจากประเทศอินโดนีเซีย และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ ผลงานมาจากรุ่นสู่รุ่น นับเป็นเครื่องดนตรีไทย
ที่มีความอัศจรรย์และควรอนุรักษ์ให้ดี เพื่อให้สิ่งที่พิเศษเหล่านี้ไม่เลือนหาย ลูกหลานในรุ่นต่อไป จะได้รู้จักเรียนรู้และพัฒนา ให้เครื่องดนตรีที่พิเศษเช่นนี้ยังคงอยู่