FOMO การตลาดของเกม กับพฤติกรรมกลัวพลาดของลูกค้า

FOMO

FOMO การตลาดของเกมออนไลน์ของปัจจุบัน ซึ่งยังรวมไปถึงระบบในแอพอื่นๆ ด้วยอย่างแอพเรียนภาษา แอพพลิเคชั่นอีคอมเมิร์สต่างๆ ซึ่งในเกมมือถือออนไลน์กว่า 90% จะต้องมีแน่นอน บทความนี้เราจึงจะมาพูดถึง ระบบการตลาดสำหรับ fomo ที่เกมต่างๆ ทั้งใน PC และ Mobile ใช้กัน โดยเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าอยู่ในแอพได้ทุกวัน และนานที่สุด

FOMO คืออะไรมี ความสำคัญอย่างไรกับเกมออนไลน์

FOMO คือลูกค้าในกลุ่มส่วนมากของแอพต่างๆ ที่กลัวจะพลาดบางสิ่งบางอย่าง ทั้งเทรน การทราบเรื่องราวข่าวสาร หรือจะเป็นไอเทมสำคัญและสิทธิพิเศษในเกม ส่งผลให้มีอาการติดมือถือนั่นเอง ซึ่งการที่มีกลุ่มเหล่านี้ธุรกิจออนไลน์ต่างๆ จึงวางแผนเข้าถึงและรั้งพวกเข้าไว้ได้ [1]

อย่างการกำหนดระยะเวลาในการอยู่ในเกม หรือการเช็คชื่อรายวัน รวมไปถึงการจำกัดระยะเวลาของโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีเพียง 1 วัน จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าโฟโม ซื้ออย่างรวดเร็ว ไม่ก็เข้าร่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนอกจากกลุ่มนี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรงข้ามกันอีกด้วย ในปริมาณที่อาจน้อยกว่าหรือเท่ากับกลุ่มแรก

เปรียบเทียบ ความต่างของประเภทเกมที่ใช้ระบบแจกรางวัล

หัวข้อนี้เราจะมากล่าวถึงเกม 3 กลุ่มที่มีความแตกต่างกัน พร้อม เปรียบเทียบ ว่าแต่ละประเภทเน้นการตลาดในแบบไหน กระทั่งกล่าวถึงความนิยมสูงสุดในฟีเจอร์ต่างๆ ในเกม โดยอิงมาจากเกม Mobile ในสหรัฐอเมริกา

ประเภทเกม Casual

เกมประเภทที่เล่นได้เร็ว เกมง่ายๆ อย่างพวก Arcade game ที่ไม่ต้องจริงจังอะไรมากมาย ซึ่งเกมเหล่านี้ก็จะมีสัดส่วนของ ของขวัญรายวันให้ท่านเข้ามากดรับได้ทุกวันมากที่สุดที่ 79% และรางวัลหลังการเล่น 47% ภารกิจรายวันที่ 39% ซึ่งรางวัลเหล่านี้ผู้เล่นโฟโมจะพลาดไม่ได้แน่นอน

ประเภทเกมระดับกลาง (Mid-Core)

เกมที่ได้รับความนิยมมากในหมู่วัย 13-25 ปี ซึ่งมีกลุ่มโฟโมมากที่สุดแล้ว เกมประเภทนี้ก็จะเป็นพวก Roblox หรือ Genshin Impact เกมพวกนี้จะมีกิจกรรมให้ท่านเข้าร่วมมากมาย ซึ่งมีของขวัญรายวันถึง 88% รางวัลภารกิจสะสมรายวัน 76% ภารกิจรายวัน 91% สุ่มฟรีหรือ กาชารายวัน 52% และมีรางวัลเวลาในการเล่นเพิ่มมา ซึ่งอยู่ที่ 4%

ประเภทกีฬา-รถแข่ง

เกมที่ขยับฐานลูกค้าที่อายุเยอะขึ้นมาหน่อยคือ 15-37 ปี และกลุ่มคนดูบอลทั้งหลาย ซึ่งจะมีฟีเจอร์ของขวัญรายวันที่ 82% รางวัลภารกิจสะสมรายวัน 64% ระบบสุ่มฟรีรายวัน (กาชา) 73% ภารกิจรายวัน 73% ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ บางเวลาอีก 27% [2]

ยกตัวอย่างเกมออนไลน์ที่ ใช้ระบบเช็คชื่อที่ผู้เขียนเล่น

จากตัวอย่างการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่ากิจกรรมแจกของจะไปหนักที่เกม Mid-core และยังเป็นเกมที่วัยรุ่นที่มีกลุ่มโฟโมมากที่สุด ด้วย หัวข้อนี้จึงจะมาบอกตัวอย่างเกมระดับกลางที่มีกิจกรรมเหล่านั้นให้กด ซึ่งผู้เขียนก็เล่นอยู่ด้วย

  • T3 Arena ภารกิจรายวันที่ให้ท่านทำและรับรางวัลเป็นเหรียญในการนำไปซื้อตัวละครได้ แถมยังมีของขวัญรายวันที่สามารถเข้าไปกดรับในร้านค้าได้ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  • Slamdunk เกมบาสเกตบอลที่อยู่ในกลุ่มระดับกลาง ซึ่งต้องมีการจัดสรรทรัพยากรในเกมให้ดี เพื่ออัปเกรดตัวละครไปเล่นได้ ซึ่งทั้งกิจกรรมรายวัน กับภารกิจก็ล้วนแจกเป็นเงินและทรัพยากรที่ใช้ในเกมทั้งนั้น ยิ่งเป็นลูกค้ากลุ่มโฟโมยิ่งพลาดไม่ได้
  • Call of duty mobile เกมแนว Shoottingในมือถือ ซึ่งก็มีทั้งไอเทมที่แจกรายวัน โดยจะเป็นสกินปืน และยุทโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งยังมีการจำกัดเวลาให้ท่านต้องเข้าไปเล่นในเวลาที่กำหนดอีกด้วย และมีภารกิจรายวันที่ท่านต้องเข้าไปทำเพื่อรับรางวัล

จากที่ดูมาทุกเกมจะมี 1 สิ่งที่เหมือนกัน นั่นก็คือระบบภารกิจที่ให้ท่านทำรายวัน อาจเป็นการเล่น 3 แมตช์ ยิงครบ 5 คนหรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งจะมีให้ทำทุกวันและจะมีเลเวลสำหรับการทำภารกิจนี้ หากเลเวลถึงก็รับรางวัลได้ โดยระบบนี้จะเรียกกันว่า Battle Pass ซึ่งมีถึง 98% ของเกมระดับกลางทุกเกม

สรุป FOMO กับระบบเช็คชื่อรายวันของเกมออนไลน์

FOMO

บทความนี้เป็นการพูดถึงการตลาดในเกมออนไลน์ปัจจุบัน ที่จะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าโฟโม ซึ่งมีทั้ง PC และมือถือเป็นส่วนใหญ่โดยให้ความหมายของ FOMO พร้อมยกตัวอย่างระบบที่นิยมในเกมออนไลน์ และยังนะนำเกมที่มีระบบนี้ให้ท่านทราบและอาจจอยากเข้าไปเล่นก็ได้ ซึ่งระบบนี้ก็เป็นผลดีทั้งผู้เล่นและผู้พัฒนา แต่อาจส่งผลเสียให้ในเรื่องของการอยู่ร่วมกันของสังคม ที่มีแต่คนก้มหน้าเล่นเกมก็เป็นได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง