Tamarind ผลไม้เปรี้ยวที่ซ่อนรสชาติ และประโยชน์มหาศาล

Tamarind

Tamarind หรือ มะขาม เป็นผลไม้ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติการใช้งานที่ยาวนาน ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก ไม่เพียงแค่ใช้เป็นส่วนประกอบ ในอาหารเท่านั้น แต่ยังใช้ในการแพทย์ และเครื่องดื่ม ความเป็นมา และประโยชน์ของมะขาม ทำให้เป็นหนึ่งในผลไม้ที่น่าสนใจ

Tamarind ประวัติและที่มากำเนิดในแอฟริกา

Tamarind มีต้นกำเนิดในแอฟริกา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในอินเดีย ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในพืช ที่มีการปลูกขึ้นตั้งแต่ยุคโบราณ มะขามได้รับความนิยม ในหมู่ชาวอินเดีย และชาวเอเชียมานานหลายศตวรรษ เนื่องจากให้รสชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์ และประโยชน์ทางสุขภาพ

Tamarind ประโยชน์ของมะขามที่มีรสชาติเปรี้ยว หรือมะขามดิบ

Tamarind  มีรสชาติที่เปรี้ยว และหวาน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มะขามเปรี้ยวสามารถเพิ่มรสชาติ และความสดชื่นให้กับอาหาร และเครื่องดื่มได้หลายประเภท สามารถใช้ในการปรุงอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ ของมะขามดิบต่อ 100 กรัม มีดังนี้

  • Energy 239 kilocalories
  • Carbohydrates 62.5 grams
  • Sugar 57.4 grams
  • fiber 5.1 grams
  • Fat 0.6 g
  • Protein 2.8 grams
  • Vitamin B1 0.428 mg 37%
  • Vitamin B2 0.152 mg 13%
  • Vitamin B3 1.938 mg 13%
  • Vitamin B5 0.143 mg 3%
  • Vitamin B6 0.066 mg 5%
  • Vitamin B9 14 micrograms 4%
  • Choline 8.6 mg 2%
  • Vitamin C 3.5 mg 4%
  • Vitamin E 0.1 mg 1%
  • Vitamin K 2.8 micrograms 3%
  • Elemental calcium 74 mg 7%
  • Iron 2.8 mg 22%
  • Elemental magnesium 92 mg 26%
  • Phosphorus 113 mg 16%
  • Elemental potassium 628 mg 13%
  • Elemental sodium 28 mg
  • Elemental zinc 0.1 mg 1%

ที่มา : มะขาม สรรพคุณ [1]

Tamarind ประโยชน์ของมะขามสุก หรือมะขามหวาน

Tamarind  มีวิตามิน แร่ธาติ รวมถึงเส้นใยอาหารสูง ช่วยในการย่อยอาหาร และมีฤทธิ์เป็นยาระบายเบาๆ มะขามยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรค เกี่ยวกับการอักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด [2]

มะขามสุกหรือมะขามหวาน นิยมทานเป็นผลไม้ขอว่าง เป็นแหล่งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ซึ่งรวมถึงวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร ที่สำคัญสำหรับร่างกาย นี่คือรายละเอียดคุณค่าทางโภชนาการ ของมะขามสุกต่อปริมาณ 100 กรัม

  • พลังงาน มะขามสุกให้พลังงานประมาณ 239-240 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 62-63 กรัม ซึ่งรวมถึงน้ำตาลธรรมชาติ
  • เส้นใยอาหาร ประมาณ 5.1 กรัม
  • โปรตีน ประมาณ 2.8 กรัม
  • ไขมัน มีน้อยมาก ประมาณ 0.6 กรัม
  • วิตามิน C ประมาณ 3.5 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม ประมาณ 74 มิลลิกรัม
  • เหล็ก ประมาณ 2.8 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม ประมาณ 628 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม ประมาณ 92 มิลลิกรัม

Tamarind เมนูที่นิยม และราคาขายทั่วไป

มะขามถูกใช้ในการทำอาหารหลายประเภท เช่น ในเมนูของไทย หรือใช้ในการทำน้ำจิ้ม เครื่องดื่ม เช่น น้ำมะขาม และทานเล่น เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามพริกเกลือ มะขามคลุกน้ำตาล ความหลากหลายของการใช้มะขาม ในการปรุงอาหาร ทำให้เป็นวัตถุดิบ ที่สำคัญในครัว
มะขามเป็นผลไม้ที่ราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ทั่วไป มะขามหวานสีทอง มีราคาประมาณ 65-110 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม, มะขามหวานสีชมพูมีราคาประมาณ 65-100 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม, ฝักมะขามอ่อน มีราคาประมาณ 80 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม [3]

Tamarind ข้อควรระวังทานมากไปอาจทำให้ถ่ายท้อง

ในการบริโภคมะขาม ควรระมัดระวัง ในผู้ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร หรือมีประวัติการแพ้มะขาม นอกจากนี้ การบริโภคมะขามในปริมาณมาก อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และการทำงานของไต และหากทานมะขามที่มีรสเปรี้ยวมาก อาจทำให้ถ่ายท้องได้

สรุป Tamarind ประโยชน์มหาศาลทางสุขภาพ

Tamarind

Tamarind  ไม่เพียงแต่ให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ให้ความสดชื่นในอาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์มหาศาล ทางด้านสุขภาพ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

282