Chickpea หรือ ถั่วลูกไก่ เป็นหนึ่งในพืช ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และยังคงเป็นที่นิยมในหลายๆประเทศเนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการสูง และรสชาติที่อร่อย ชื่อนี้มาจากคำฝรั่งเศส “chiche” ซึ่งมาจากคำภาษาละติน “cicer” หมายถึง พืชที่นิยมในโรมันโบราณ
Chickpea เป็นพืชตระกูลถั่ว เช่นเดียวกับ Peanut ถั่วลูกไก่มีเมล็ดกลมเล็ก มีสีตั้งแต่เหลืองอ่อน ถึงน้ำตาล มีสองชนิดหลักคือ Kabuli ซึ่งมีเมล็ดสีอ่อนและใหญ่ และ Desi ซึ่งเล็กและมีสีเข้มกว่า ถั่วลูกไก่เป็นทางเลือกอาหาร สำหรับการควบคุมน้ำหนัก และสุขภาพที่ดีของระบบย่อยอาหาร และหัวใจ
Chickpea มีหลักฐานการใช้งาน และการนำมารับประทานเป็นอาหาร ใน Middle East เมื่อประมาณ 7,500 ปีก่อนคริสตกาล มันถูกใช้เป็นอาหารพื้นฐาน ในอารยธรรมโบราณ หลากหลายแห่ง และแพร่กระจายไปทั่ว Asia, Europe และ Africa
ถั่วลูกไก่ ต้องการสภาพอากาศที่อบอุ่น และดินที่มีการระบายน้ำดี มักจะปลูกในประเทศที่มีสภาพอากาศแห้ง และอบอุ่น เช่น India, Australia และใน Middle East
จากข้อมูลที่ได้รับการ Update ล่าสุดในปี 2022 ผลผลิตทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 18.1 ล้านตัน อินเดียเป็นผู้ผลิต รายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณการผลิตมากกว่า 13.5 ล้านตัน ตามมาด้วยออสเตรเลีย ที่มีปริมาณการผลิตประมาณ 876,500 ตัน [1]
ถั่วลูกไก่ มีโปรตีนสูง Fiber และ Vitamin ที่สำคัญ เช่น Folate และ iron มีประโยชน์ ในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยในระบบย่อยอาหาร และบำรุงสุขภาพหัวใจ ถั่วลูกไก่ปริมาณ 100 กรัม ให้ Energy 164 kcal และมีปริมาณสารอาหารอื่นๆ ดังนี้
ที่มา: ถั่วลูกไก่ [2]
ถั่วลูกไก่ มีจำหน่าย ทั้งในรูปแบบสด และกระป๋องที่ supermarket ทั่วไป รวมถึงร้านขายสินค้าสุขภาพ ยกตัวอย่างร้านค้าทาง online ที่ขาย Organic Chickpea ถั่วลูกไก่ นำเข้าจาก India ปริมาณ 1000 กรัม ราคา 240 บาท [3]
ก่อนนำ ถั่วลูกไก่ มารับประทาน ควรต้มถั่วลูกไก่ให้นิ่มก่อน เมนูเช่น ใช้โรยในสลัด หรือเป็นส่วนผสมในน้ำสลัด ทำเป็น Hummus บดเป็นเนื้อเนียน ผสมกับ olive oil และ Tahini เติมถั่วลูกไก่ใน Soups และ Stews เพิ่มโปรตีน และเนื้อสัมผัสที่หอม หวานมันอร่อย
Chickpea หรือ ถั่วลูกไก่ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าสูง ใช้ได้หลากหลาย ในการปรุงอาหาร และมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญ ของอาหารจานสุขภาพ และมื้ออาหารทั่วโลก