Triticale หรือ ทริติเคลี เป็นธัญพืชที่ถูกพัฒนามาจาก การผสมข้ามระหว่างข้าวสาลี (Wheat) และข้าวไรย์ (Rye) ทำให้เป็นธัญพืช ที่รวมคุณสมบัติที่ดีที่สุด จากทั้งสองชนิด มีการใช้ในหลายๆ ด้านทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร และเป็นอาหารสัตว์
ทริติเคลี เป็นธัญพืชประดิษฐ์ ที่ได้จากการผสมพันธุกรรม ของข้าวสาลีและ Rye เพื่อผสานคุณสมบัติของทั้งสองชนิด ให้มีความทนทาน และผลผลิตที่ดีกว่า เมล็ดของทริติเคลี มีลักษณะที่คล้ายข้าวสาลี แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีคุณภาพโปรตีนที่สูงกว่า
การพัฒนา Triticale เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ใน Germany แต่ไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งศตวรรษที่ 20 เมื่อนักพันธุ์พืช เริ่มปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรค และคุณภาพของเมล็ด ปัจจุบัน ทริติเคลี ปลูกอย่างแพร่หลาย ในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย
ทริติเคลี ปลูกได้ดี ในดินที่มีคุณภาพปานกลาง และสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ดีกว่าข้าวสาลี หรือข้าวไรย์ ต้องการการดูแลรักษาที่น้อยกว่า และให้ผลผลิตที่ดี ในสภาพอากาศหนาวเย็น
ประเทศที่เป็นผู้ผลิต ทริติเคลี ชั้นนำในโลก ได้แก่ โปแลนด์ (1,306,025 เฮกตาร์), เยอรมนี (418,200 เฮกตาร์) และ ฝรั่งเศส (387,604 เฮกตาร์) ในปี 2014 ตามข้อมูลจากองค์การอาหาร และเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) มีการเก็บเกี่ยวทริติเคลี17.1 ล้านตัน ใน 37 ประเทศทั่วโลก [1]
ทริติเคลี มีโปรตีนสูง เหมาะสำหรับการเสริมโปรตีนในอาหาร มีไฟเบอร์สูง ช่วยในระบบย่อยอาหาร และลดคอเลสเตอรอล ทนทานต่อโรค และสภาพอากาศ เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ ที่ข้าวสาลีและข้าวไรย์ ปลูกไม่ได้ผล ทริติเคลีปริมาณ 1 ถ้วย 192 กรัม มี energy 336 kilocalories
ที่มา: พลังงานและสารอาหารจาก Triticale [2]
ทริติเคลี มักพบในร้านขายอาหารสุขภาพ ซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ และตลาดออนไลน์ ที่ขายผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก และอาหารเพื่อสุขภาพ ยกตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ Ninelife จำหน่ายOrganic Triticale Seeds ปริมาณ1 Lbs ราคา 2,064 บาท [3]
ทริติเคลี สามารถปรุงแบบข้าว โรยหน้าอาหาร เช่น Salad หรือนำไปบดเป็นแป้ง ใช้ทำ Bread หรือ bakery ชนิดอื่นๆ แนะนำให้แช่น้ำ เพื่อให้เมล็ดอ่อนตัวก่อนปรุง ยกตัวอย่างเมนู ทริติเคลี Risotto ทำ Risotto แบบดั้งเดิมโดยใช้ทริติเคลี แทนข้าว ให้รสชาติที่แน่น และความเข้มข้นมากขึ้น
Triticale ไม่เพียงแต่เป็นธัญพืช ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกที่ยั่งยืน สำหรับการพัฒนาพันธุ์พืชในอนาคต เนื่องจากความสามารถ ในการทนต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย และให้ผลผลิตที่ดี ทำให้เป็นที่นิยม ในหมู่ผู้ปลูก และผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ